วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

1. นิทานดังกล่าวข้างต้น ควรตั้งชื่อว่าอะไรเรื่อง เพราะความอดทน
2. นายศิษย์เป็นคนที่มีลักษณะอย่างไร ชาวบ้านถึงสรรเสริญนายศิษย์มีลักษณะนิสัย เป็นคนที่มีความเพียรพยายามและอดทนเป็นเลิศ ไม่เกียจค้านมีความพยายามฝึกฝนตนตามที่อาจารย์กำหนดจนบรรลุเป้าหมายอย่างที่ตั้งไว้ แม้ว่าคนอื่นจะมองว่าสิ่งที่อาจารย์ให้ทำนั้นไม่มีความสำคัญและไม่ทำตาม แต่นายศิษย์กลับไม่คิดเช่นนั้น อดทนทำจนประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังเป็นคนที่มีสติปัญญาเฉียบแหลม มีปฎิพานไหวพริบดี ทั้งในด้านการคิดและการพูด สามารถปฏิบัติตนตามที่ตนเองสัญญาไว้ได้ โดยไม่มีข้อแม้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ ไม่เป็นคนลืมตนเอง ไม่โลภมาก พอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่อยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตนแม้ว่าสิ่งที่ได้มานั้น จะได้มาด้วยความเต็มใจ แต่นายศิษย์ก็อยากทำสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาด้วยตนเอง เพราะเหตุนี้ชาวบ้านจึงยกย่องให้นายศิษย์เป็นที่มีความมุ่งมานะอดทน
3. นิทานเรื่องนี้สอนอะไร ให้ใช้ตารางเปรียบเทียบวิเคราะห์กับพระบรมราโชวาท 9 คำพ่อสอน9 คำพ่อสอนการปฏิบัติตนของนายศิษย์1. ความเพียรนายศิษย์เป็นคนที่มีความเพียรเป็นเลิศ ฝึกฝนตนตามที่อาจารย์บอกอย่างสม่ำเสมอจนประสบผลสำเร็จตามที่อาจารย์กำหนอด เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งต่างจากเพื่อนคนอื่นที่ยอมแพ้และกลับบ้านไป ความเพียรอีกอย่างหนึ่งของศิษย์ก็คือ ความพากเพียรทำงานอย่างขยันขันแข็ง จนได้เป็นเศรษฐี2. ความพอดีนายศิษย์เป็นคนพึ่งพอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่โลภมากอยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน นายศิษย์อยากทำงานหาเลี้ยงครอบครัวด้วยตนเอง3. ความรู้ตนนายศิษย์รู้ว่าตนเองต้องทำงานสร้างฐานะด้วยตัวเอง ไม่คิดเอาเงินที่เศรษฐีกับนายสำเภอยกให้4. คนเราจะต้องรับและต้องให้การรับของนายศิษย์คือ การรับฟังคำสั่งสอนของอาจารย์และทำปฎิบัติตาม การให้ของศิษย์คือ การไม่เอาทรัพย์สมบัติของเศรษฐี ตอนที่สามารถทำตามสัญญาได้แล้วและอีกหนึ่งอย่างคือไม่รับเรือสำเภากับสินค้า และไม่ต้องให้นายสำเภามาเป็นลูกจ้างของตนเอง เมื่อนายสำเภารู้ความจริง5. อ่านโยน แต่ไม่อ่อนแอนายศิษย์เป็นคนที่มีจิตใจดี มีน้ำใจ อ่อนโยนเชื่อฟังคำสั่งสอนของอาจารย์ แต่ไม่อ่อนแอตอนที่มีเหตุการณ์ที่มีงูเข้ามาในห้องนอนของลูกสาวเศรษฐี ด้วยความกล้าและมีสติของนายศิษย์ทำให้นายศิษย์ฆ่างูได้สำเร็จ6. พูดจริงทำจริงนายศิษย์ได้ทำตามสัญญาที่ตกลงไว้กับเศรษฐี ว่าจะไม่ล่วงเกินแตะต้องตัวลูกสาวเศรษฐีให้เกิดราคีและอัปยศ และนายศิษย์ก็สามารถทำได้ตามที่สัญญาไว้ได้ แล้วเศรษฐีก็ทำตามสัญญาเช่นกัน โดยยกลูกสาวให้แต่งงานกับนายศิษย์พร้อมยกทรัพย์สมบัติให้นายศิย์ด้วย เรื่องที่สองเมื่อนายสำเภารู้ว่าเรื่องนายศิษย์เป็นความจริง นายสำเภาก็ทำตามสัญญาโดยยกเรือสำเภาและสินค้า พร้อมกับยอมเป็นลูกจ้างตามสัญญา 7. หนังสือเป็นออมสินหนังสือในที่นี้ เปรียบเหมือนความรู้ที่อาจารย์แนะนำสั่งสอนและนำไปปฏิบัติตาม ทั้งเรื่องงานบ้าน งานเรือน ศิษย์นั้นก้อทำได้หมดทั้งอย่าง8. ความซื่อสัตย์ความซื่อสัตย์ของนายศิษย์คือ ได้ทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับเศรษฐีว่าจะไม่แตะต้องเนื้อตัวลูกสาวเศรษฐีให้เกิดความอัปยศ 9. การเอาชนะใจตนเองถึงแม้ว่าการฝึกฝนตนตามคำสั่งสอนของอาจารย์เป็นเรื่องยาก แต่นายศิษย์ก็สามารถเอาชนะใจตนเองได้โดยการอดทน จนบรรลุเป้าหมายกำหนดไว้ และเอาชนะใจตนเองที่ไม่แตะต้องลูกสาวเศรษฐีโดยปฏิบัติตามคำที่อาจารย์บอกไว้ 3 ประการ
4. ให้นิสิตค้นคว้าแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพิ่มเติมอย่างน้อย 3 แหล่ง พร้อมอ้างอิง เพื่อมาสนับสนุนแนวคิดของนิสิตลูกชาวนากับมรดกเมื่อผู้เป็นพ่อตายเเล้ว ลูกชาวนาทั้งสองก็ชวนกันไปขุดหา สมบัติในสวนองุ่นเพราะพ่อได้สั่งเสียไว้ก่อนตายว่า ทรัพย์สมบัติ ของพ่ออยู่ในสวนองุ่น"น้องไปขุดตรงนั้นนะ พี่จะขุดตรงนี้"ลูกชาวนาช่วยกันขุดดินตามที่ต่างๆไปจนทั่วสวนก็ยังไม่พบ สมบัติที่คิดว่าพ่อจะฝังไว้เเต่สวนองุ่นที่ถูกขุดถูกพรวนดินจนทั่วนั้นก็กลับยิ่งเจริญงอกงาม ดีจนลูกชาวนาสองพี่น้องสามารถขายองุ่นจนได้เงินทองมากมายทั้งสองจึงเพิ่งตระหนักได้ว่าทรัพย์สมบัติที่พ่อทิ้งไว้ให้เป็นมรดก นั้นที่เเท้คือสิ่งใดนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าความขยันพากเพียรสามารถก่อให้เกิดทรัพย์http://www.fungdham.com/fable/fable066.htmlนิทานสอนคุณธรรมความซื่อสัตย์ - คนตัดไม้กับเทพารักษ์ คนตัดไม้คนหนึ่งนั่งร้องไห้อยู่ริมลำธาร เพราะทำขวานของตนเองตกลงไปในน้ำ เทพารักษ์สงสารจึงปรากฎกายช่วยเหลือ โดยครั้งแรกงมขวานทองคำ ครั้งที่สองงมขวานเงินขึ้นมาให้ คนตัดไม้นั้นเป็นคนซื่อสัตย์จึงปฏิเสธว่า ไม่ใช่ขวานของตน จนเทพารักษ์งมขวานเหล็กขึ้นมา เขาจึงยอมรับ เทพารักษ์ตอบแทนความซื่อสัตย์ด้วยการมอบขวานทองคำและเงินให้ด้วย เพื่อนบ้านคนหนึ่งทราบเรื่อง เกิดความละโมบ จึงไปที่ลำธารและทำขวานหล่น แต่ด้วยความไม่ซื่อสัตย์ ทำให้เขาไม่ได้ขวานคืนแม้กระทั่งขวานขอตนเองคติเตือนใจคือ จงซื่อสัตย์และจงพอใจในสิ่งที่เป็นของตนไม่โลภมากhttp://www.kroobannok.com/blog/7485นิทานสอนคุณธรรมด้านความขยัน - ขุมทรัพย์ในไร่องุ่น ที่ไร่องุ่นแห่งหนึ่ง มีพ่อผู้สูงอายุกับลูกชายจอมขี้เกียจ 3 คน อาศัยอยู่ต่อมาพ่อล้มป่วยลงและก่อนที่แกจะใกล้สิ้นลมหายใจ ได้เรียกลูกชายทั้ง 3 มาสั่งเสียว่า อย่าขายที่ดิน เพราะพ่อได้ซ่อนขุมทรัพย์มหาศาลเอาไว้ให้ขุดดิน พรวนดิน ขุดหาให้ทั่วทุกตารางนิ้วของไร่ เมื่อพ่อได้สิ้นใจตายลงไปแล้ว ลูกชายทั้ง 3 ก็ลงมือและตั้งหน้าตั้งตา ไถคราดพรวนดินพวกเขาก็ไม่พบแม้แต่เศษเงินอย่างที่พ่อได้บอกไว้ หนึ่งปีผ่านไปไร่องุ่นที่พวกเค้าตั้งหน้าตั้งตาขุดพรวนดิน เพื่อหาขุมทรัพย์นั้นกลับมาเกิดผล ออกดอกออกผลออกมา และเป็นเช่นนั้นลูกชายทั้ง 3 จึงหันมาช่วยกันนำผลองุ่นเหล่านั้นออกขาย และพวกเขารู้ว่าขุมทรัพย์ที่พ่อพูดถึงนั้น หมายถึงการทำงานหนัก ขยันขันแข็ง เอาหงาดเหงื่อแรงงานเข้าแลกในที่ดินที่พ่อของพวกเขาได้ ทิ้งไว้ให้มากกว่านั่นเองคติเตือนใจคือ ความขยันทำให้ทำงานสำเร็จhttp://www.kroobannok.com/blog/7485
5. ให้นิสิตค้นคว้าบทความจาก Internet ที่เกี่ยวกับ 9 คำพ่อสอน 5 บทความพร้อมแหล่งอ้างอิงบทความที่ 1เพลงของพ่อ-05-อยากเข้มแข็งเหมือนพ่อ (ดัง & ตอง).mp3 - บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียดวันที่ 7 กรกฎาคม 2493 บู๊ ลูกรักในจดหมายฉบับก่อนที่พ่อสอนมา หวังว่าลูกคงได้อ่านตลอดแล้วและปฏิบัติตามนั้นได้ ในฉบับนี้พ่อจะได้สอนถึงเรื่อง “กรรมดี” ต่อไป คำว่า “กรรม” นี้แปลว่า “การกระทำ การประพฤติหรือการปฏิบัติ” ฉะนั้นคำว่า “กรรม ดี” ก็แปลว่า “การกระทำในสิ่งที่ดีการประพฤติตัวดี หรือการปฏิบัติตนดี” นั่นเอง คนเราเกิดมาเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันอยู่มากก็ใน (1) รูปสมบัติ (2) ชาติตระกูล หรือความมั่งคั่งสมบูรณ์และความเฉลียวฉลาด เท่านั้นผู้ที่ได้ทำกรรมดีไว้มากในชาติก่อน ในชาตินี้ก็อาจเกิดมาเพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติทั้ง 3 ประการ (คือทั้งมีรูปสมบัติดีมั่งคั่งสมบูรณ์และตระกูลดี และมีปัญญาเฉลียวฉลาด) บางคนอาจเกิดมามีคุณสมบัติเพียง 2 ประการ หรือ 1 ประการเท่านั้นก็ได้ทั้งนี้ก็สุดแต่กรรมที่ตนได้ทำไว้ในชาติก่อน อันเป็นกรรมเก่าว่ามีมากน้อยเพียงใด ส่วนบุคคลใดได้ประกอบกรรมชั่วไว้มากในชาตินี้ก็อาจเกิดมาเป็นคนไม่สมประกอบ มีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือมีรูปร่างหน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ ยากจนและโง่เขลาเบาปัญญา ทั้งนี้เราไม่สามารถจะแก้ไขได้เพราะเป็นเรื่องของกรรมเก่า แต่เราจะอาศัยกรรมเก่าอย่างเดียวเท่านั้นหาได้ไม่ ต้องทำกรรมดีในชาตินี้ด้วย กรรมนั้นจึงจะส่งเสริมให้เราได้ดี มีความสุขความเจริญและมั่งคั่งสมบูรณ์แม้กรรมเก่าจะได้ส่งเสริมให้เราเกิดมาดีแล้วก็ตาม แต่ถ้าในชาตินี้เราไม่ทำกรรมดีต่อ ก็จะหาความสุขความเจริญได้ยาก อุปมาได้เช่นเดียวกับคนที่ได้รับมรดก ถ้าไม่รู้จักใช้ ไม่รู้จักหาเพิ่มเติมมีแต่ทำลายล้างผลาญแล้ว ในไม่ช้ามรดกที่ได้มานั้นก็จะหมดไปและจะกลายเป็นคนยากจน ทรัพย์มรดกอาจหมดลงได้ด้วยการล้างผลาญฉันใด กรรมดีที่เป็นกรรมเก่าก็อาจหมดลงได้ด้วยการไม่สร้างกรรมดีต่อในชาตินี้ฉันนั้น เรื่องเช่นนี้ได้มีตัวอย่างให้เราเห็นมาแล้วมากหลาย เช่นคนที่เกิดมามีรูปสวย รวยทรัพย์ ทั้งมีปัญญาเฉลียวฉลาด แต่เมื่อได้เกิดมาแล้วก็ประกอบแต่กรรมชั่ว คือประพฤติตัวไม่ดี มีนิสัยเลว เช่นกินเหล้าเมายาเป็นอาจิณ ชอบเล่นการพนันจนติดเป็นนิสัย ชอบเที่ยวผู้หญิง คบคนไม่ดีและอยู่ในสังคมที่เลวไม่มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีมานะอดทน ฯลฯ อะไรต่างๆ กรรมชั่วเหล่านี้ก็จะฉุดเขาลงไปสู่ความหายนะ เช่นผู้ที่เคยมีรูปสวย ก็อาจเป็นโรคถึงกับทำให้พิการหรือทุพพลภาพ (เช่นเป็นโรคผู้หญิงทำให้จมูกโหว่ ตาบอด ปากแหว่ง ฯลฯ อะไรต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น) ความมั่งคั่งสมบูรณ์ในทรัพย์สมบัตินั้นเล่า แม้จะมีมากมายสักเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อไม่รู้จักใช้ ไม่รู้จักเก็บ ไม่รู้จักแสวงหาเพิ่มเติม มีแต่ใช้ไปผลาญไปแล้ว ในไม่ช้าก็จะหมดตัว ความเฉลียวฉลาดที่มีอยู่ก็จะเอาไปใช้ในทางที่ผิดเพราะการมั่วสุมและคบกับคนชั่ว ในที่สุดก็จะไม่มีใครคบ ซ้ำยังจะเป็นที่รังเกียจของสังคมที่ดีทั่วไปอีกด้วย และอาจถึงต้องติดคุกติดตะรางในที่สุดแต่ตรงกันข้าม คนที่เกิดมาโดยกรรมเก่ามิได้ส่งเสริมให้ดีมาแต่กำเนิด เช่นเกิดมามีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด ขี้ริ้วขี้เหร่และเกิดในตระกูลที่ขัดสนยากจน ทั้งมีความโง่เขลาเบาปัญญา แต่ถ้าในชาตินี้เขาได้ทำกรรมดี คือประพฤติตัวดี ฝึกหัดตนให้เป็นคนมีนิสัยดี มีความขยันหมั่นเพียรมานะอดทน และคอยศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้อยู่เสมอแล้ว กรรมที่เขาทำดีในชาตินี้ก็จะส่งเสริมให้เขาเป็นคนดี มั่งคั่งสมบูรณ์ มีความสุขความเจริญ และมีคนนับหน้าถือตาเขาได้ และก็ได้มีตัวอย่างให้เราเห็นแล้วมากรายเหมือนกัน ฉะนั้นกรรมดีจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดที่ลูกจะต้องปฏิบัติในชาตินี้และให้เริ่มแต่บัดนี้ ในวันนี้เป็นต้นไป เพื่อกรรมดีนี้จะได้ส่งเสริมให้ลูกมีความสุขความเจริญและมั่งคั่งสมบูรณ์http://atcloud.com/stories/40380บทความที่ 2“ คำพ่อสอน ” รางวัลโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ทุนการศึกษา 20,000 บาทนายบารมี เขียววิชัยนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 2 ปีการศึกษา 2546 ปัจจุบันศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรพ่อ คือ ผู้ให้กำเนิด ให้การเลี้ยงดูลูก และอบรมสั่งสอนลูกให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม แต่ในปัจจุบันนี้พ่อหลายคนมักคำนึงถึงการเลี้ยงดูลูก ให้เจริญเติบโตและมีความสะดวกสบาย ส่วนการอบรมสั่งสอนลูกมักจะมอบภาระให้ผู้อื่นทำ เช่น โรงเรียนเป็นต้น ซึ่งการกระทำเช่นนี้บางครั้งก็ก่อให้เกิดปัญหา ต่าง ๆ ตามมา ดังที่พบเห็นจากข่าวในหนังสือพิมพ์และสื่ออื่น ๆ ทุกวัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพ่อของปวงชนชาวไทยทุกคน ทรงไม่เคยละเลยหน้าที่พ่อของแผ่นดิน แม้ว่าพระองค์ท่านจะทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย ไม่ว่าจะทรงเหน็ดเหนื่อยเพียงใดในการพัฒนาประเทศเพื่อให้ประชาชนมีความอยู่ดีมีสุข พระองค์ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสแก่พสกนิกรซึ่งเปรียบเสมือนลูกอยู่เสมอ พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและประเทศชาติอย่างมีคุณธรรมและสามารถปฏิบัติได้ ดังจะเห็นได้จากหนังสือ “ คำพ่อสอน ” ซึ่งรวบรวมพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ผู้ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนี้ล้วนให้แนวคิดที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ได้อ่านเป็นอย่างยิ่ง แนวคิดแรก ที่ได้จากพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานคือเรื่องของการ จัดการศึกษา พระองค์ทรงเข้าพระทัยธรรมชาติของเด็กเป็นอย่างดียิ่ง โดยตรัสเกี่ยวกับการสอนเด็กเล็กๆ ว่า “ ต้องสอนเรื่องการใช้อวัยวะให้สามารถช่วยเหลือตัวเองและทำงานได้ ” รวมทั้งสอนให้มีเหตุผลซึ่งทำให้เด็กสามารถมองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง รู้ผิด รู้ชอบ เมื่อโตขึ้นก็ต้องสอนให้เด็กเก่งทั้งด้านวิชาการและมี คุณธรรม แนวคิดที่สอง คือ ในด้านวิชาการ พระองค์ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทว่านักเรียนต้องเรียนเพื่อรู้ มิใช่เรียนเพื่อสอบ และต้องตั้งใจเรียนเพราะวัยเด็กสั้น ต้องหมั่นหาความรู้ทั้งในห้องเรียนและการอ่านหนังสืออื่น ๆ นอกจากนั้นต้องรู้วิธีนำความรู้ไปใช้โดยต้องรู้วิชาการในทุกแง่ทุกมุมและสามารถพิจารณาความรู้ด้วยใจเป็นกลางและต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือเมื่อเป็นนักศึกษาเรียนทฤษฎีพอทำงานก็จะได้ประสบการณ์ชีวิตทำให้มีปัญญาสามารถนำความรู้มาใช้อย่างรู้เท่าทันเหตุผล แนวคิดที่สาม คือ การจัดการเรียนการสอน พระองค์ทรงพระราชทานแนวคิดว่าเด็กไม่ควรเรียนหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องทำกิจกรรมและเล่นกีฬาด้วย เพราะการให้เด็กทำกิจกรรมก็เพื่อเติมเต็มความเป็นมนุษย์ให้แก่เด็ก ทำให้เด็กมีวินัย รู้แพ้ รู้ชนะ มีความสามัคคีและรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นอันจะเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าเด็กที่เก่งแต่ไม่มีคุณธรรมไม่สามารถพัฒนาประเทศได้ เพราะคนที่เก่งอย่างเดียวแต่ไม่มีคุณธรรม มีข้อเสียคือ ไม่รอบคอบเพราะคิดว่าตนเองเก่งจึงรีบร้อน หยิ่งยโสทำให้ทำลายมิตรภาพและความสามัคคีเพราะมองข้ามความสำคัญของผู้อื่น พยายามทำตัวให้เด่นจึงเห็นแก่ตัว และมุ่งหาผลประโยชน์จนทำความชั่ว ซึ่งผลที่ตามมาก็คือทำให้จับเหตุจับผลจับหลักการไม่ถูกและไม่สามารถสร้างความเจริญให้กับประเทศชาติได้ ดังนั้นต้องสอนให้เก่งและดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความสุภาพอ่อนโยนและมีสติ แนวคิดที่สี่ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานโอวาทว่าบัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ มีความสามารถ เป็นความหวังของชาติและมีบทบาทโดยตรงที่จะพัฒนาประเทศ ดังนั้นเมื่อจบการศึกษาเป็นบัณฑิตก็ต้องทำงานอย่างมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ว่าจะช่วยพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตนให้เจริญก้าวหน้า และใช้ความสามารถของตนในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของสังคมและประเทศชาติให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีรวมทั้งการร่วมมือกันของบัณฑิตและบุคลากรจากสาขาต่าง ๆ ใช้ความรู้ความสามารถที่สั่งสมมาตั้งแต่เยาว์มาใช้ในการพัฒนาประเทศ แนวคิดที่ห้า คือ เมื่อถึงวัยทำงานบัณฑิตแต่ละคนย่อมอยากสร้างอนาคตที่ดีให้กับตนเอง ครอบครัวและประเทศชาติ แต่ชีวิตไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อมีปัญหาอะไรก็ต้องแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด โดยต้องใช้เหตุผลพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่มีอคติ เพื่อให้แก้ปัญหาอย่างถูกหลักการ อย่างมีเหตุผลและคุณธรรม แนวคิดที่หก เป็นพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการทำงานว่า การทำงานต้องใช้ความสามารถ 2 อย่าง คือการใช้วิชาความรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ในการใช้ความรู้ ต้องศึกษาสภาพความเป็นจริงของงาน คน สังคม และสิ่งแวดล้อม ต้องละความเครียด ใช้วิชาอย่างพอเหมาะไม่ใช่เคร่งทฤษฎีจนเกินไปเนื่องจากบัณฑิตเรียนมาแต่ภาคทฤษฎีซึ่งทฤษฎีส่วนใหญ่ก็เป็นของตะวันตก ดังนั้นการจะนำมาใช้ในประเทศไทยซึ่งมีสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากตะวันตกโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนเลยคงเป็นไปไม่ได้ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทุกคนต้องบริสุทธิ์ใจในการทำงาน ต้องยึดถือความสำเร็จของงานเป็นหลัก ไม่แย่งผลงานกัน ไม่มีอคติต่อผู้อื่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ตั้งปณิธานให้แน่วแน่ว่าจะทำงานให้สำเร็จ รอบคอบ อย่าโกหกกัน รู้จักให้อภัย ไม่ฟุ้งเฟ้อและทำตัวเสมอต้นเสมอปลาย ในการพัฒนาประเทศแนวความคิดที่ได้จากพระบรมราโชวาท คือ คนไทยทุกคนต้องตระหนักใน บทบาทหน้าที่ในการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะมีอาชีพใด ๆ ก็ตาม ดังนั้นต้องหาทางร่วมมือกันคนละไม้คนละมือเพื่อช่วยสร้างชาติและสังคม เป้าหมายในการพัฒนาชาติและสังคมไทย คือการอยู่อย่างพอมีพอกินและมีความสุข ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นเอกลักษณ์ของไทยและเป็นสิ่งที่ทั่วโลกอิจฉา ไม่จำเป็นต้องมุ่งที่จะเป็นมหาอำนาจเพราะประเทศต่าง ๆที่หวังเป็นมหาอำนาจต่างชิงดีชิงเด่นจนคนในชาติเดือดร้อนวุ่นวาย อำนาจไม่ได้นำมาซึ่งความสุข แต่ความสงบและการอยู่อย่างพอมีพอกิน เรียบง่าย เป็นความสุขที่แท้จริง ประชาชนชาวไทยทุกคนควรนำแนวคิดที่ได้จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากหนังสือ “ คำพ่อสอน” มาปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนตั้งแต่ระดับเด็กเล็กจนถึงระดับอุดมศึกษาควรสร้างหลักสูตรต่าง ๆ ตามแนวพระราชดำริ คือให้เยาวชนเป็นทั้งคนเก่งและคนดี ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูอาจารย์ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านวิชาการให้นักเรียนได้รู้และปฏิบัติได้จริง ควบคู่กับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ความเสียสละ ความสามัคคีและความ มีระเบียบวินัย ต้องส่งเสริมให้เยาวชนได้เล่นกีฬาและรักการออกกำลังกายอย่างแท้จริง ไม่ใช่เล่นเพื่อเอาคะแนน หรือหวังชื่อเสียงเงินทอง ต้องมีการส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทุกเพศทุกวัยมีนิสัยรักการอ่านหากทุกคนได้อ่านหนังสือ“ คำพ่อสอน” และนำแนวคิดจากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสต่าง ๆ มาปฏิบัติอย่างจริงจัง ประเทศของเราก็จะมีกำลังคนที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศในอนาคต และมีคนในวัยทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีคุณธรรม ปัญหาหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการเมืองการปกครอง ปัญหาเศรษฐกิจ หรือปัญหาสังคมต่าง ๆ ย่อมจะค่อย ๆ หมดไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้คงจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อของแผ่นดินได้ เช่นเดียวกับลูกที่ดีมีความกตัญญูช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ กระผมเชื่อว่าบุคคลใดก็ตามได้อ่านหนังสือ “ คำพ่อสอน” ซึ่งเป็นการรวบรวมพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่เด็กและเยาวชน ย่อมต้องรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่พระองค์ทรงไม่เคยละเลยในการทำหน้าที่พ่อของแผ่นดิน ตัวกระผมเองเมื่อได้อ่านหนังสือ “ คำพ่อสอน” แล้ว ยังรู้สึกตระหนักถึงหน้าที่ของตนเอง หน้าที่ของนักเรียนที่ต้องศึกษาหาความรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน ต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อหาประสบการณ์ชีวิตในการเติมเต็มความเป็นมนุษย์ ทั้งต้องมีคุณธรรม มีเหตุผล ซื่อสัตย์สุจริต และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กระผมจะสร้างครอบครัวที่ดี ทำงานอย่างเต็มความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่โลภ จะร่วมมือกับผู้อื่นในการทำงาน ใช้ความรู้ความสามารถช่วยพัฒนาประเทศและพัฒนาสังคมไทยให้อยู่ดีมีสุขเท่าที่บุคคลคนหนึ่งจะสามารถทำได ตามแนวคิดที่ได้จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ พ่อของปวงชนชาวไทย”http://www.satit.su.ac.th/_satit/sms_47_5.htmบทความที่ 3สารคดีเทิดพระเกียรติ ชุด “๙ คำพ่อสอน” จะเล่าเรื่องราวของความเป็นจริงในการ ดำเนินชีวิตและการทำงานของคนในหลายสาขาอาชีพ หลากสถานะ ทั้งชาวนา ชาวไร่ ข้าราชการ ครู อาจารย์ นักธุรกิจ ตลอดจนผู้พิการ ซึ่งได้น้อมนำพระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นแนวทางในการประพฤติ ปฏิบัติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ จุดประกายความคิด ความหวัง และความมุ่งมั่นตั้งใจในการใช้ชีวิต การเรียนและการทำงานเน้นการเล่าเรื่องผ่านภาพของความเป็นจริง ที่เรียบง่ายและ งดงามตามแนวพระราชดำรัส ของผู้ที่ได้น้อมนำมาเป็นหลักยึดเหนี่ยวและปรับใช้กับชีวิต และการงานของตนจนประสบความสุขและความสำเร็จ ก่อประโยชน์ให้ทั้งแก่ตนเองและสังคม ควรค่าแก่การที่จะเผยแพร่และนำไปเป็นแบบอย่าง เนื้อหาสาระที่นำเสนอจะเป็นเรื่องจริง ในแง่มุมหนึ่งของชีวิตคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นและได้รับแรงบันดาลใจ จากกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุมมองที่น่าสนใจในการตีความ ที่แต่ละคนน้อมรับไว้ในจิตใจและนำไปปฏิบัติจริง นำมาซึ่งประโยชน์ทั้งทางกายและทางใจ สร้างความซาบซึ้ง และปลื้มปิติยินดีแก่ผู้ที่ได้สดับฟัง และชมสารคดีเทิดพระเกียรติชุดนี้http://www.clipsall.com/บทความที่ 49 ข้อคิดของศิลปินดาราจาก" ๙ คำ..พ่อสอน"น้อมนำแนวคิด ใช้ชีวิตอย่างเข้มแข็ง ทั้งหมดเป็นคำกล่าวของศิลปินและเยาวชนที่แสดงความรู้สึกต่อ 9 คำสอน หรือพระราชดำรัส/พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานในวโรกาสต่างๆ ซึ่ง สำนักงาน ป.ป.ส. ได้รวบรวมและเผยแพร่ แล้วได้สอบถามไปยังศิลปิน กลุ่มเยาวชนที่ประสบความสำเร็จโดยยึดหลักคำสอนในแต่ละข้อหรือทั้ง 9 ข้อ เป็นแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติ ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์ได้รวบรวมมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติของประชาชน1. ความพอดี“เชอรี่ คิดว่าความพอดี คือไม่มากไม่น้อยเกินไป ซึ่งเราสามารถปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้ เช่น การใช้จ่ายเงิน เราควรจ่ายในสิ่งที่พอเหมาะพอควร ไม่เกินฐานะ การทำงานก็ค่อยๆ เรียนรู้ ทำตามขั้นตอน ค่อยๆ เสริมสร้างไปสู่ความสำเร็จ” เข็มอัปสร สิริสุขะ (เชอรี่)2. ความเพียร“ความเพียรไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่ต้องใช้ความอดทนพยายาม เช่น การเรียนพยายามจนสอบเข้ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้สำเร็จ การทำงานผมก็ใช้ความอดทนทำในสิ่งที่ดีที่สุด ผมอยากฝากทุกคนอย่าละทิ้งความเพียรแล้วเราจะเห็นผลในวันข้างหน้า” ต้น นามแก้ว เยาวชน”สานหัวใจรักจากหัวใจแกร่ง”3. ความรู้ตน“ความรู้ตนเป็นสิ่งที่จะทำให้เราทำอะไรได้อย่าง มีสติ รู้หน้าที่ รู้จักความรับผิดชอบ เช่น ถ้าเราเป็นลูกก็ควรดูแลพ่อแม่ ถ้าเราเป็นนักเรียนก็ต้องตั้งใจเรียน ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดจนเสียการเรียน การทำงาน ไม่ว่าการเป็นพิธีกร นักแสดงหรือนักร้อง แทคทำทุกอย่างเต็มที่และรู้ตนอยู่เสมอจนประสบความสำเร็จ”ภรัญญู โรจนวุฒิธรรม (แทค)4. ต้องรู้จักรับและรู้จักให้“คนเราเมื่อรับและจะต้องรู้จักการให้เหมือนพวกเราที่ได้รับสิ่งดีๆ จากสังคม เราก็ต้องตอบแทนด้วยการให้ เช่น เราให้ด้วยการช่วยเหลือชุมชน สอดส่องดูแล เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ช่วยเยาวชน หรือผู้ที่หลงไปติดยาเสพติดให้เข้ารับการบำบัดรักษา เพื่อกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างมีความสุขหรืออาจช่วยผู้อื่นต่อไปได้”เยาวชนบัณฑิตอาสาจังหวัดพื้นที่ภาคใต้5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ“การเป็นเด็กยุคใหม่ต้องมี 2 ข้อที่เข้มแข็ง ทางหนึ่งต้องก้าวตามโลกให้ทัน อีกด้านต้องรักษาและเชิดชูขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม คือต้องมีทั้งความเจริญและมีวัฒนธรรม เหมือนความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ คือควรมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ และต้องรู้จักปฏิเสธสิ่งที่จะนำเราไปในทางเสื่อม โดยเฉพาะยาเสพติด เราก็จะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข”สราวุธ มาตรทอง (อ้น)6. พูดจริง ทำจริง“พูดจริงทำจริงเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าเราจะพูดอะไรก็ควรพยายามทำในสิ่งนั้นอย่างจริงจัง เช่น ผมบอกแม่ตั้งแต่เด็กว่า แม่ครับผมอยากเป็นนักร้อง ผมก็พยายามจนได้เป็นนักร้องอย่างทุกวันนี้ การพูดและพยายามทำในสิ่งที่ดีทำให้เรามีความน่าเชื่อถือ ศรัทธาซึ่งก่อให้เกิดความเจริญและประสบความสำเร็จ” ศรัญญู วินัยพาณิช (ไอซ์) 7. ความซื่อสัตย์“ยุ้ย ... คิดว่าสิ่งสำคัญอันดับแรก คือ อยากให้เราซื่อสัตย์ต่อตนเอง เหมือนยุ้ยให้ความซื่ออสัตย์ในชีวิตประจำวัน และใช้ในการทำงาน เราคิดตั้งใจทำอะไร ก็ให้มีความซื่อสัตย์และมุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งนั้นให้สำเร็จและความซื่อสัตย์จะทำให้เราเดินไปสู่ความสำเร็จอย่างแน่นอน”จีรนันท์ มโนแจ่ม (ยุ้ย)8. หนังสือเป็นออมสิน“คงเป็นเพราะผมมีความพยายาม เพราะทุกอย่างไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ อย่างการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงก็ต้องอ่านหนังสือเยอะ ฟิตเยอะ สู้เยอะ การอ่านทำให้เรารับประสบการณ์ใหม่ๆ การอ่านเหมือนเป็นคู่มือของชีวิต ทำให้เรารู้จักมองตีค่า เข้าใจตัวเองและสิ่งรอบข้างได้ดีขึ้น”ภาณุ ตรัยเวช นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง9. การเอาชนะใจคน“เริ่มต้นจากตัวเราเอง ในการที่จะไม่ทำความชั่วเอาชนะใจตัวเอง ข่มใจ ขัดเกลาจิตใจ พัฒนาตัวเองให้เป็นที่พึ่งแก่ตนเองได้ในที่สุดเราก็ช่วยเหลือผู้อื่นได้ การทำความดีนี่แหละครับ ที่จะทำให้ชีวิตมีคุณค่า โตเป็นผู้ใหญ่ เป็นอนาคตที่ที่มาจาก http://campus.sanook.com/บทความที่ 51. ความเพียรการสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเองพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯวันที่ 27 ตุลาคม 25162. ความพอดีในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืนพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 25403. ความรู้ตนเด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอนพระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 25214. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 25215. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวมพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 24966. พูดจริง ทำจริงผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวมพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 25407. หนังสือเป็นออมสินหนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 25148. ความซื่อสัตย์ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคงพระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช 25319. การเอาชนะใจตนในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับพระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2513ที่มาจาก http://www.panyathai.or.th